รักษาปัสสาวะเล็ด ง่ายๆ โดยไม่พึ่งมีดหมอ

“ ปัสสาวะเล็ด ” หรือเรียกโรคนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “อาการช้ำรั่ว” (Urinary Incontinence) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดที่เกิดได้กับทุกเพศ เริ่มจากวัยทำงานไปจนถึงเริ่มเข้าวัยทอง สาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาท หรือ กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และ ความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน ซึ่งอย่างหลังมักเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และ ในบางกรณีก็เกิดจากนิ่ว หรือ เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะได้ ทั้งนี้จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและ รักษาปัสสาวะเล็ด จะดีที่สุดค่ะ

30-ก็เริ่มมีอาการ ปัสสาวะเล็ด ได้แล้ว

อายุ 30 ก็เริ่มมีอาการปัสสาวะเล็ด ได้แล้ว!!

พฤติกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด ได้แก่ ไอ จาม หัวเราะ ซึ่งทำให้เกิดความดันในช่องท้องจนเกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ออกได้ แต่ระดับความรุนแรงอาจแตกต่างกัน หากไม่รุนแรงมาก อาจจะใช้เวลาไม่นานก็สามารถรักษาให้หายได้ ระหว่างนั้นอาจจะใช้แผ่นซับปัสสาวะไปพลาง ๆ ก่อน แต่บางกรณีอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อปรึกษาหา หรือวิธีรักษากันต่อไป

ปัสสาวะเล็ด ขณะออกแรง stress-incontinence-คืออะไร

ปัสสาวะเล็ด ขณะออกแรง (stress incontinence) คืออะไร

ภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง คือ อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะที่มีการเพิ่มของความดันในช่องท้อง เช่น การเบ่ง, การจาม, การไอ, การหัวเราะ เป็นต้น โดยไม่มีการหดรัดตัวของกระเพราะปัสสาวะร่วมด้วย ภาวะนี้เป็นภาวะปัสสาวะเล็ดชนิดที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงอายุน้อย และ อุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นในผู้หญิงช่วงอายุ 45-49 ปี

ประเภทของภาวะปัสสาวะเล็ด ในรูปแบบต่าง ๆ

  • อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ณะออกแรง (stress incontinence)
  • อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทันที เมื่อปวดปัสสาวะ (urgency incontinence)
  • อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทั้งขณะออกแรง และ ทันทีเมื่อปวดปัสสาวะ (mixed incontinence)
  • อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ (overflow incontinece)

สำหรับใครที่พบว่าตัวเองมีภาวะปัสสาวะเล็ด รูปแบบดังที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำว่าให้รีบรักษาอาการดังกล่าวให้หาย ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเข้าสังคม ได้อย่างมากอีกด้วยค่ะ หากพบว่าตัวเองมีลักษณะอาการแบบใดก็รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษานะคะ หรือจะรักษาได้ด้วยตนเองที่บ้านก็ได้นะ

รักษาปัสสาวะเล็ด ง่ายๆ ด้วยตนเอง

รักษาปัสสาวะเล็ด ง่ายๆ ด้วยตนเอง

อาการปัสสาวะเล็ดนั้นมีหลากหลายสาเหตุเลยนะคะ แถมยังเป็นปัญหาสำหรับหนุ่ม ๆ สาว ๆ หลายคนไม่น้อย เนื่องจากจะส่งผลในเรื่องของความมั่นใจในการดำรงชีวิตอีกด้วยค่ะ สำหรับสาว ๆ แล้ว นอกจากอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีผลกระทบอย่างอื่นตามมาอีกด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็น อาการช่องคลอดหลวม ไม่ฟิต ขาดความกระชับ แต่หารู้หรือไม่คะ ว่า แม้อาการปัสสาวะเล็ดนั้น จะมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่เราสามารถทวงคืนความอ่อนเยาว์ให้จิมิของเราได้ด้วยการรักษาอาการดังกล่าวนั่นเองค่ะ ซึ่งการรักษานั้นไม่จำเป็นว่าต้องพึ่งมีดหมอ เพียงอย่างเดียวนะ ยังสามารถรักษาเองเบื้อต้นได้ด้วย แต่ต้องขยันนิดนึงนะ แต่สำหรับใครที่หมดหนทางในการรักษาแล้ว ก็แนะนำว่าให้พบแพทย์เพื่อประเมินอาการว่า ควรใช้วิธีการรักษาประเภทใด วิธีไหน จึงจะเหมาะสม และ เห็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ

เอาล่ะ ในหัวข้อนี้จะเล่าถึงการรักษาปัสสาวะเล็ด ง่าย ๆ แบบไม่ต้องผ่าตัดนะคะ ซึ่งต้องขอบอกก่อนเลยว่า ถ้าเมื่ออ่านบทความนี้จบแล้ว คนไข้สามารถไปลองทำ ลองปฏิบัติกันได้เองง่าย ๆ เลยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

  • หัดปัสสาวะให้เป็นนิสัย

หัดควบคุมการถ่ายปัสสาวะไม่ให้บ่อยเกินไป ซึ่งปกติคือปัสสาวะทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 4-8 ครั้ง หากมากกว่านี้ถือว่ามากเกินไป

  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

เพราะหากดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจทำให้ปัสสาวะเข้มข้น และ ทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะได้ และ ควรงดเว้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และ แอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำอัดลม เพราะจะยิ่งระคายเคือง และ กระตุ้นให้เกิดปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นได้

  • ลดน้ำหนัก

เพราะในบางรายที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้

  • การขมิบช่องคลอด

เพื่อให้กล้ามเนื้อช่องคลอด และ ท่อปัสสาวะแข็งแรงขึ้น แต่เห็นผลค่อนข้างช้า และ ต้องทำเป็นประจำ โดยวิธีการคือ สามารถขมิบช่องคลอดได้ในทุกอิริยาบถ ซึ่งการขมิบที่ถูกต้องคือขมิบเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเท่านั้น คล้ายกับเวลากลั้นอุจจาระ หรือ ปัสสาวะ โดยไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องหรือต้นขาร่วมด้วย ขมิบแต่ละครั้งทำค้างไว้ 10-20 วินาที แล้วคลายออกในเวลาเท่ากันแล้ว จึงเริ่มขมิบใหม่ สามารถทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ โดยระยะแรกอาจทำเพียงน้อยครั้งแล้วจึงเพิ่มขึ้นทั้งระยะเวลา และ ความถี่เมื่อชำนาญมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากคนไข้ไม่แน่ใจว่าจะขมิบได้ถูกต้องหรือไม่ สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ได้เลยค่ะ

  • การรับประทานยา

สำหรับสาวๆคนไหนที่สนใจอยากรักษาปาการ ปัสสาวะเล็ดโดยวิธีรับประทานยา ก็สามารถทำได้ค่ะ โดยยาที่มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ ยาแอนติโคลิเนอร์จิก ช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อบริเวณท่อปัสสาวะ ยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหูรูดที่ช่วยสนับสนุนกระเพาะปัสสาวะอยู่ โดยช่วยลดอาการปวดปัสสาวะ และ ความถี่ในการถ่ายปัสสาวะ อย่างไรก็ดี ยาชนิดนี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้ปากแห้ง มองเห็นภาพเบลอ และ มีอาการท้องผูกนั่นเองค่ะ

  • ฉีดโบท็อกซ์

การใช้โบท็อกซ์จำนวนเล็กน้อยที่กระเพาะปัสสาวะ โดยโบท็อกซ์ช่วยทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่หดหรือบีบตัวมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้องรีบถ่ายปัสสาวะทันที แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาโดยการฉีด โบท็อกซ์ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้จะพบปัญหาปัสสาวะลำบาก จนต้องใช้สายสวนปัสสาวะ นอกจากนี้คือต้องเข้ารับการฉีดอยู่เสมอเนื่องจากโบท๊อกซ์อยู่ได้เพียงประมาณแค่ 6 เดือนเท่านั้น จึงต้องฉีดใหม่ทุก ๆ 6 – 12 เดือนค่ะ

  • การนั่งเก้าอี้ Emsella เพื่อกระตุ้นการขมิบ

ในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือทำได้แต่ไม่ดีพอ การใช้คลื่นไปกระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยตรงพบว่าสามารถทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวมีความแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการให้ผู้ป่วยบริหารอุ้งเชิงกรานด้วยตัวเอง นอกจากนี้การกระตุ้นด้วยคลื่นยังมีผลโดยตรงให้กระเพาะปัสสาวะมีการคลายตัวได้ด้วยค่ะ

  • การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดภายนอก

การรักษาชนิดนี้แนะนำให้ใช้ในผู้หญิงวัยก่อน และ หมดประจำเดือน ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้รักษาทั้งอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จากการออกแรง อาการ ปัสสาวะเล็ดทันทีหลังปวดปัสสาวะ ที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน โดยจะมีอาการปัสสาวะแสบ ๆ ขัด ๆ และ ปัสสาวะบ่อยร่วมด้วย

  • การฝังเข็มโดยใช้ไฟฟ้า

การรักษาวิธีนี้มีการศึกษาในประเทศจีนพบว่า สามารถลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จากการออกแรงได้ วิธีการคือ ฝังเข็มไปที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนลัมบา และ ซาครัม (lumbosacral region) โดยทำ 1 – 8 ครั้งใน 72 ชั่วโมง เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ หลังจากอาการค่อย ๆ ดีขึ้นแล้ว จะคงการรักษาต่อแบบ 2 ครั้งใน 72 ชั่วโมง นานประมาณ 6 เดือน

หาก รักษาปัสสาวะเล็ด ด้วยวิธีทั่วไป “ไม่ได้ผล” ควรทำอย่างไร

หากรักษาโดยการรักษาที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นจะต้องพิจารณาให้การรักษาแบบอื่นที่เฉพาะต่อการรักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จากการออกแรงมากขึ้น ได้แก่

การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง (Continence pessaries) เป็นวิธีการรักษาที่นิยมใช้ และ อาจใช้ร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกราน ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงมีความพึงพอใจหลังใช้ภายใน 1 ปี การทดลองขนาดของอุปกรณ์มักจะทำโดยแพทย์เฉพาะทางด้านนรีเวช และ ระบบทางเดินปัสสาวะ

การผ่าตัด

ผู้หญิงที่รักษาด้วยวิธีการรักษาแบบอนุรักษ์แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือในผู้หญิงที่ต้องการผลการรักษาที่รวดเร็ว ตรงจุด และ ยอมรับความเสี่ยงของการผ่าตัดได้ ควรพิจารณารักษาโดย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save